“อุบัติเหตุ” คำนี้ใครหลายคนคงไม่อยากเจอะเจอ
“อุบัติเหตุ” คำนี้มักพบได้บ่อยในทุกสถานการณ์การใช้ชีวิตประจำวัน หลายครั้งหลายหนเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เลือดกำเดาไหล ไฟดูด และคนจมน้ำ และเมื่อพบผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเหล่านี้แล้ว จะมีวิธีการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไร
ดังนั้น หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพฉบับนี้ มีคำแนะนำในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุใน 3 กรณีที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ให้ได้ทราบกันก่อนนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล
หากพบคนจมน้ำ
อุบัติเหตุอันเกิดมาจากการจมน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกกรณี ถึงแม้ว่าผู้ที่ว่ายน้ำเป็นก็อาจประสบเหตุได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นในผู้ที่จมน้ำ มีวิธีดังต่อไปนี้
1. ถ้าผู้ป่วยยังไม่จมน้ำ และพยายามจะขึ้นจากน้ำ ให้ช่วยเหลือโดยโยนสิ่งของให้เกาะไว้ เช่น เชือก หรือเสื้อชูชีพ
2. ถ้าผู้ที่เข้าช่วยเหลือว่ายน้ำเป็นจะลงไปช่วยต้องรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องเสียก่อน หากไม่แน่ใจไม่ควรลงไปช่วยเพราะจะทำให้ผู้ช่วยเหลือจมน้ำเองได้
3. ถ้านำผู้ป่วยขึ้นมาจากน้ำได้แล้ว และผู้ป่วยไม่หายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นโดยการผายปอด
4. ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง ให้จัดผู้ป่วยนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
5. ห่มผ้าให้ความอบอุ่น และดูแลใกล้ชิด
6. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่ามีหรือไม่ จนกว่าหน่วยกู้ชีพจะมาถึง หรือส่งตัวยังโรงพยาบาล
หากพบคนที่ถูกไฟดูด
ไฟดูด มักพบได้บ่อยและอาจเกิดขึ้นได้ในบ้านของเราเอง สิ่งที่ควรกระทำเมื่อพบผู้ถูกไฟฟ้าดูด มีดังต่อไปนี้
1. หลังจากสับสวิตช์ไฟหรือตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว ให้นำผู้บาดเจ็บออกมายังที่ปลอดภัย
2. ผู้แจ้งเหตุควรอยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา
3. สังเกตการหายใจและอาการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ
4. กรณีถูกไฟดูด และตกจากที่สูง ให้ระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเพราะอาจมีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังร่วมด้วยให้เคลื่อนย้าย
หากมีเลือดกำเดาไหล
เลือดกำเดาไหล อาจไม่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเวลา แต่เมื่อเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร
1. ให้นั่งนิ่ง ๆเงยศีรษะไปด้านหลัง
2. ใช้นิ้วบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่นนาน 10 นาที
3. ให้หายใจทางปากแทน อย่าพูด กลืน ไอ ถ่มน้ำลาย หรือสูดจมูก
4. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบริเวณสันจมูก หรือหน้าผาก ถ้าเลือดไม่หยุดไหลให้พาไปพบแพทย์
เหตุการณ์เหล่านี้เราอาจไม่เจอะเจอบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ววิธีปฐมพยาบาลที่กล่าวมา เป็นวิธีเบื้องต้นที่จะสามารถช่วยเหลือในกรณีที่ผู้สบเหตุมีอาการไม่รุนแรงมากนัก หากมีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงนอกเหนือจากนี้ควรให้ผู้ที่เชี่ยวชาญเข้าช่วยเหลือ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่ร้ายแรง.
อ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง/อ.นพ.พงศ์ศิษฏ์ สิงหทัศน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา เดลินิวส์
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...