คนในครอบครัวที่มีภาวะโรคอ้วนเหมือนกัน ปัจจุบันเพราะเชื่อว่าเป็นพันธุกรรม แต่ผลการศึกษาใหม่กำลังชี้ว่า เชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารมีบทบาทสำคัญ และสามารถติดเชื้อกันได้ (newsmania.com)
จุลินทรีย์ในช่องท้อง แพร่เชื้อ สาเหตุ “โรคอ้วน”แม้เราจะรับรู้ว่า “โรคอ้วน” สามารถแบ่งปันให้เพื่อนได้ ด้วยพฤติกรรมการกินที่คล้ายๆ กัน แต่ผลวิจัยใหม่กลับบ่งข้อมูลที่เราต้องฉงนว่า “โรคอ้วน” นั้น “ติดเชื้อ” กันได้
ใช่แล้ว “เชื้อโรคอ้วน”
เมื่อจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารเกิดผิดปกติ นั่นก็จะเป็นเหตุให้เกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้ และต่อเนื่องไปจนถึง “โรคอ้วน” และ “โรคตับ” ที่ทำให้มีการติดเชื้อต่อกันได้ ซึ่งการค้นพบที่เกินธรรมดานี้ เกิดขึ้นในหนูทดลองของทีมวิจัยจากเยล
“หลังจากที่หนูสุขภาพดี อยู่ร่วมกรงกับหนูที่ปรับแต่งพันธุกรรมให้มีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นพิษต่อลำไส้ หนูสุขภาพดีก็เริ่มมีความรู้สึกไวต่อโรคตับและโรคอ้วน” ศ.ริชาร์ด ฟลาเวลล์ (Richard Flavell) สาขาชีวภูมิต้านทาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา (Yale School of Medicine) ผู้นำการศึกษาครั้งนี้อธิบาย
แบคทีเรียเป็นพิษแผลงฤทธิ์
ทีมวิจัยพบสารโปรตีนที่เรียกว่า “อินฟลามมาโซมส์” (inflammasomes) ทำหน้าที่ปล่อยระบบภูมิคุ้มกันออกมาในรูปแบบกลไกการอักเสบ เป็นเสมือนตัวตรวจจับจุลินทรีย์ในลำไส้ให้อยู่ในสภาวะปกติ
ในหนูที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นพิษต่อลำไส้ จะมี “อินฟลามมาโซมส์” ต่ำ และนั่นทำให้นำไปสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับอย่างรุนแรง (NAFLD) รวมถึงโรคอ้วนด้วย
โรคไขมันพอกตับเป็นผลมาจากภาวะการเผาผลาญพลังงานที่ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มความผิดปกติจากโรคอ้วนและเบาหวาน จึงทำให้เกิดภาวะที่มีไขมันโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์อยู่ในเซลล์ตับ อีกทั้งร้อยละ 5-8 ของผู้ป่วยไขมันพอกตับจะกลายเป็นตับอักเสบ
“ปกติแล้ว แบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารจะเอื้อประโยชน์ให้กับร่างกายเรา แต่ผลการศึกษาในหนูที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน กลับพบจำนวนแบคทีเรียที่เป็นพิษมากกว่า 1,000 ชนิด ที่นำไปสู่โรค”
ข่าวร้ายกว่านั้น เมื่อแบคทีเรียตัวร้ายสามารถถ่ายทอดจากหนูตัวหนึ่งสู่หนูอีกตัวได้ นั่นจึงทำให้หนูที่มีสุขภาพดีอยู่เดิมเริ่มอ้วนขึ้น เพราะรับจุลินทรีย์ที่มีผลต่อภาวะอ้วนเข้าไปอยู่ในลำไส้เสียแล้ว
“เราสามารถทำให้หนูอ้วนขึ้นได้ โดยเพียงนำไปเลี้ยงไว้ในกรงเดียวกันกับหนูตัวอื่น”
ภาวะติดเชื้ออ้วน เกิดขึ้นกับมนุษย์ได้หรือไม่?
แน่นอนว่าเป็นไปได้ แต่ทีมวิจัยบอกว่า พวกเขาต้องทำงานมากขึ้นเพื่อหาคำตอบที่แน่ชัดกว่านี้
อีกสมมติฐานของการแพร่กระจายโรคอ้วนที่พบในการทดลองครั้งนี้ น่าจะเป็นเพราะหนูกินมูลถ่ายของกันและกัน จึงเป็นโอกาสให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากลำไส้ของหนูเป็นโรค (ขณะที่มนุษย์ไม่ได้มีพฤติกรรมการกินเช่นนี้)
ทว่า อย่างน้อยที่สุด ผลการศึกษาก็ได้แนะนำให้พิจารณาผู้ที่เป็นโรคอ้วนอย่างเคร่งครัด เพราะโรคไขมันพอกตับนั้นเกิดการติดเชื้อมากถึง 75-100% ของประชากรผู้เป็นโรคอ้วน และในจำนวนผู้เกิดภาวะไขมันในตับ 20% กำลังพัฒนาไปสู่ขั้นรุนแรง
ก่อนหน้านี้ หากสมาชิกในครอบครัวที่อยู่บ้านเดียวกัน ต่างเกิดภาวะไขมันพอกตับหรือโรคอ้วน แน่นอนว่าใครๆ ต่างก็ต้องโทษพันธุกรรม แต่ผลการศึกษาใหม่นี้ได้ชี้ชัดลงไปว่าเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกัน
รักษาภาวะอ้วน ด้วยยาต้านจุลินทรีย์
ถ้าการศึกษาเชิงลึกกับคนได้แสดงให้เห็นแนวโน้มเดียวกับหนู นั่นก็จะเกิดคำแนะนำใหม่ในการรับมือกับโรคไขมันพอกตับและโรคอ้วน โดยจัดการกับจุลินทรีย์ในช่องท้อง อาจจะเป็นทั้งยาปฏิชีวนะต้านจุลินทรีย์ หรือการเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรเข้าไปในร่างกาย เพื่อการรักษาที่ตรงจุด
ขณะเดียวกัน รศ.ดร.จัสโมฮาน บาจาจ (Jasmohan Bajaj) ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร, ตับ และโภชนาการ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลธ์ (Virginia Commonwealth University) ซึ่งไม่ได้มีส่วนกับงานวิจัยชิ้นนี้ ได้วิพากษ์ว่า ผลการศึกษาเป็นการกระตุ้นให้หันมาจับตาบทบาทของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในตัวเรา
“เพื่อพิจารณาภูมิไวรับของพวกเราต่อโรคตับและภาวะแทรกซ้อน ซึ่งยังต้องศึกษาในมนุษย์ให้มากกว่านี้ เพราะมีความซับซ้อนกว่าหนูทดลอง แล้วจะได้เข้าใจบทบาทของแบททีเรียต่อโรคตับ โดยผลการทดลองที่เกิดขึ้น ถือเป็นกุญแจสำคัญ”
ผลการศึกษาชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ ฉบับออนไลน์ เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ก้าวต่อไปของทีมวิจัยนั้น ฟลาเวลล์ เปิดเผยว่า จะนำไปขยายผลทดลองกับมนุษย์ และจะระบุให้ได้ชัดเจนว่าแบคทีเรียใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาไปสู่โรคตับ ซึ่งการรักษาในหนูเมื่อให้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว ก็ทำให้สภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของหนูกลับสู่ภาวะปกติ และเชื่อว่าจะสามารถรักษาโรคตับได้ด้วย
ความหวังของทีมวิจัยก็เพื่อจะค้นพบวิธีการรักษาทำนองเดียวกันนี้ให้แก่มนุษย์ โดยการทำความรู้จักและสภาวะของเหล่าจุลินทรีย์ในช่องท้องให้มากยิ่งขึ้น.
ในช่องท้องของเรามีจุลินทรีย์นับล้านๆ ชนิด และเมื่อเกิดภาวะไม่สมดุล จุลินทรีย์เป็นพิษก็ส่งผลต่อภาวะต่างๆ ในร่างกาย (best health fitness reviews)
ระบบทางเดินอาหารที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (NC State News Services)
การกินไม่ใช่เหตุผลหลักที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน (Irish Medical Time)
"ตับ" อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย (iStockphoto/Eraxion)
ที่มา http://www.manager.co.th
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...