ในปัจจุบันมีเด็กจำนวนมากเห็นผักในจานแล้วเขี่ยทิ้งเพราะไม่ชอบรับประทาน แม้ว่าพ่อแม่จะคะยั้นคะยอหรือบังคับก็ไม่เป็นผล ไม่เหมือนกับขนมกรุบกรอบที่มีไขมันสูง หรือลูกอม ขนมหวานต่าง ๆ ไม่ต้องบอกเด็กก็สรรหามารับประทานเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.พญ.ชุติมา ศิริ กุลชยานนท์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คนไทยบริโภคผักผลไม้น้อยมาก โดยเฉพาะเด็กเล็ก สาเหตุที่เด็กไม่ชอบรับประทานผักเพราะมีกลิ่นเหม็นฉุน ไม่อร่อย นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้ปกครองไม่ได้ปลูกฝังในเรื่องนี้ พอเด็กไม่ชอบก็ปล่อย และหาแต่สิ่งที่เด็กชอบมาให้เด็กรับประทาน
วิธีการจะกระตุ้นให้เด็กรับประทานผักต้องไม่บังคับ แต่เราจะต้องมีกลเม็ดที่ทำให้เด็กสนุกและสนใจอยากที่จะทำ โดยในปี 2546 ได้ทำวิจัยศึกษาหาวิธีที่จะให้เด็กบริโภคผักมากขึ้น เป็นวิธีการที่สนุกที่ทำให้เด็กคล้อยตาม เช่น การเล่านิทาน ดูการ์ตูน เนื่องจากพื้นฐานความคิดในการบริโภค หรือ นิสัยของเด็กเริ่มสร้างตั้งแต่วัยเด็กเล็ก และจะต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ หากไม่ได้รับการฝึกมาตั้งแต่เล็กตามช่วงวัยของพัฒนาการ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจนโต ทำให้เด็กปฏิเสธผัก
ทั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่งใน กทม. ในเด็กอนุบาล อายุ 4-5 ขวบ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยการสอนเด็กวัยนี้ให้เรียนรู้เรื่องผัก ผลไม้ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย สนุก และเด็กได้ร่วมกิจกรรม ในการวิจัยได้ใช้สื่อต่าง ๆ คือถ้าเด็กผู้ชายให้ดูการ์ตูนป๊อปอาย ส่วนเด็กผู้หญิงก็เล่านิทานหนูนิดกับฟักทอง นอกจากนี้ยังมีกิจ กรรม ร้องเพลงผักผลไม้ เล่นเกม ทดลองให้เด็กปลูกผัก แล้วนำมาปรุงอา หาร ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียม ล้างผัก ดูการหั่นและประกอบอาหารจากผักร่วมกับผู้วิจัย แล้วให้เด็กได้ลิ้มรส
ประสบการณ์จริงที่เด็กได้จับต้อง สัมผัส ล้าง ชั่ง ตวง คน ตัก ชิมอาหารที่ปรุงจากผัก ทำให้เด็กชอบและกระตือรือร้น ต้องการรับประทานผัก และถามคุณครูว่าตอนเที่ยงนี้จะมีผักอะไร คนที่ไม่ชอบผักเมื่อนั่งรับประทานอาหารกับเพื่อน ๆ ที่ชอบผักจะถูกชักชวนให้เพื่อนรับประทานผัก เด็กผู้ชายจะยึดป๊อปอาย เป็นสัญลักษณ์กินผักแล้วแข็งแรง ขณะที่เด็กผู้หญิงจะยึดหนูนิดเป็นสัญลักษณ์ กินผักแล้วแก้มแดง ผิวสวย
นอกจากนี้การที่คุณครูได้นั่งร่วมวงอาหารกับเด็ก เด็กก็จะสังเกตเห็นครูรับประทานผักก็จะทำตาม และที่น่าสนใจคือการจัดปาร์ตี้ผัก และผลไม้ หลากหลายชนิดให้เด็กได้เห็น สัมผัส บอกชื่อ สี และเล่นเกม สร้างความตื่นเต้นและกระตุ้นความสนใจในผักผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้อย่างมาก
ขณะเดียวกันได้มีการส่งจดหมายไปถึงผู้ปกครอง เพื่อเป็นการสื่อสารถึงพัฒนาการของเด็กในการบริโภคผัก และขอความร่วมมือ สนับสนุนการรับประทานผักที่บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมักคุยให้ฟังเรื่องผักต่าง ๆ มากขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่รับประทานผักในอาหารมื้อกลางวันที่โรงเรียน จากการพูดคุยกับเด็กได้รับทราบว่าทางบ้านได้มีการเตรียมผักในมื้ออาหารเพิ่มขึ้น หลัง การศึกษาเด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของก่อนการศึกษา
รศ.พญ.ชุติมา ฝากไปยังเด็ก ๆ ทุกคน ว่า ผักมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีใยอาหารมีประโยชน์ในการขับถ่าย เด็กจะไม่ท้องผูก เพราะส่วนมากที่กุมารแพทย์เจอคือ เด็กมักจะมีปัญหาท้องผูก ถ่ายอุจจาระไม่ออก ที่สำคัญผักยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันใยอาหารจะชวยดูดซับไขมันที่ปนมากับอาหารรวมทั้งสารพิษอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ปัญหาไขมันในเลือดสูงลดลงไปด้วย ดังนั้นเด็ก ๆ ทุกคนควรหันมารับประทานผักให้มากขึ้น คือหมอเคยตรวจในเด็กวัยเรียนพบว่า เด็กไทยมีภาวะไขมันในเลือดสูงเยอะมากเกินครึ่งซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ไม่ว่าจะเด็กอ้วนหรือผอมเนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเหมือน ๆ กันคือกินอาหารที่มีไขมันสูง.
นวพรรษ บุญชาญ รายงาน
วิธีแก้ปัญหาเด็กไม่กินผัก
ที่มา เดลินิวส์
ละครเรื่อง นางอาย
-
อ่านละครเรื่อง นางอาย[ตอนล่าสุดคลิก] ละครเรื่อง นางอาย บทประพันธ์โดย นราวดี
ละครเรื่อง นางอาย บทโทรทัศน์โดย คฑาหัสต์ บุษปะเกษ ละครเรื่อง นางอาย
กำกับการแสด...