บทความชิ้นพิเศษเกี่ยวกับ เชื้อเรา เอาใจทั้งคนรักษ์บ้าน และรักษ์สุขภาพ อันเนื่องมาจากเชื้อราที่เกิดขึ้นบนเฟอร์นิเจอร์ หรือข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เพราะความอับชื้น หากปรากฏขึ้นมาก นอกจากจะไม่สวยงามแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย โดย ‘มุมสุขภาพ’ ขอเสนอวิธีพิชิตเชื้อรา จากคุณ meepole…
ราบางชนิดก็มีประโยชน์ใช้ทำยา ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น แต่ที่จะเขียนถึงต่อไปนี้แน่นอน มันเป็นราผู้ร้าย
รามีหลายประเภท (species) และแต่ละชนิดก็มีผลต่อสุขภาพแตกต่างกัน และที่แน่นอนคือเมื่อมีราเกิดขึ้นไม่ว่าส่วนใดของบ้าน ต้องกำจัดออก ไม่ต้องคิดเมตตาปราณีเป็นอันขาด
หลายคนอาจยังเข้าใจว่าเชื้อราก่อให้เกิดโรคเฉพาะผิวหนังภายนอก เช่น กลากเกลื้อน เชื้อราที่มือและเท้า เป็นต้น แต่ความจริงแล้วมันลุยเข้าไปในตัวเราได้มากกว่าที่คิด ตับ ไต ไส้พุง ระบบน้ำเหลือง มันเที่ยวไปรังควานซะทั่ว
เชื้อราเส้นเล็กๆ นี่ อันตรายกว่าที่คิดแน่นอน เพราะอาจส่งผลต่อการเกิดภูมิแพ้ และเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคปอดอักเสบ บางชนิด สามารถผลิตสารพิษที่เรียกว่า mycotoxin ซึ่งมีพิษมาก และถูกสงสัยว่าเป็นสารก่อมะเร็งด้วย มีผลต่อภูมิคุ้มกันบกพร่อง ราบางชนิด เช่น กลุ่มราบางชนิดที่ชอบขึ้นบนพรมที่ชื้น ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบ มีเลือดออกภายใน เกิดแผลในกระเพาะ และอีกชนิดที่รู้จักกันดีคือกลุ่มเพนนิซิเลียมที่พบได้ทั่วไปในดิน อาหาร ขนมปัง ธัญพืช มักพบบนผนังฝาบ้าน พรม วอลเปเปอร์ที่ชื้น พวกนี้จะทำให้มีอาการหอบหืด โรคปอดอักเสบภูมิไวเกิน
ราพวกนี้บางชนิดเข้าปอดโดยการหายใจ ทำให้มีการติดเชื้อแพร่กระจายออกไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ ม้าม กระดูก ตลอดจนเข้าไปในระบบน้ำเหลือง และตายได้ บางกลุ่มทำลายตับ ไต
เราได้รับเชื้อรา ทางไหนบ้าง?...เรารับเชื้อราได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่นจากการสัมผัส ทางจมูก โดยการหายใจ พบว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจ
เนื่องจากเชื้อรามีอยู่ทั่วไปในอากาศโดยเฉพาะสปอร์ล่องลอยเที่ยวไปเรื่อยๆ ดังนั้นคนที่มีปัญหาเป็นโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงบริเวณเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อรา หรือบริเวณที่มีเชื้อราอยู่มากเช่น บริเวณที่มีฝุ่นละอองเยอะ บริเวณที่มีคนอยู่หนาแน่น
อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน เช่น คนที่เป็นโรคเอดส์ โรคมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ที่กำลังมีการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์และเคมีบำบัด กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่นคนที่เป็นโรควัณโรค หรือ cystic fibrosis เป็นต้น
รู้อย่างนี้แล้วคงต้องหาเวลาตรวจส่วนต่างๆของบ้าน ว่ามีราแอบแฝงที่ส่วนใดบ้าง ห้องน้ำ ผ้าม่าน พรม หน้าต่าง เบาะนั่ง หมอน ผนังห้อง หวี เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เสื้อผ้า กระเป๋า...เพราะบางครั้งที่คนในบ้าน เด็กเล็ก ป่วยหอบหืด ภูมิแพ้ อาเจียน ไข้ โดยไม่มีสาเหตุ และนำไปสู่โรคต่างๆข้างต้นได้ แม้กระทั่งผู้ใหญ่หากร่างกายอ่อนแอ ก็จะมีอาการดังกล่าวเช่นกัน โดยอาจจะมาจากสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า "รา" นี่เอง
--@@--ปฏิบัติการกำจัด-จำกัด ราในบ้าน
เราจะเริ่มที่ขั้น ทำความสะอาดก่อน
1. แรกสุดที่ต้องคิดถึง คือกำหนด "รา cleaning day" (ทำงานให้เป็นสุข สนุกกับการทำงาน) ดูว่าราขึ้นมากไหม (บริเวณกว้างไหม) และมันเพิ่งขึ้น หรือมันนานพอควรแล้ว รู้ได้ยังไง ...ก็ดูว่าฟูมากไหม เป็นขยุ้ม หรือเป็นจุดเล็กๆ อันนี้จำเป็น แล้วแต่ละสภาพแวดล้อมที่ทำ ถ้าเป็นในห้องน้ำมักจะเป็นพวกไม่ฟู ถ้าเป็น อาหาร ไม้ โดยเฉพาะ particle board ที่เป็นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ จะฟู (ถ้าขึ้นมาเกิน 1 สัปดาห์แล้ว)
2. สำรวจความพร้อมของคณะทำงานและผู้ช่วยก่อน ถ้ามีรามาก และฟู และคุณมีสภาพร่างกายที่มีความเสี่ยงแบบที่กล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ ก็ควรใส่ที่ป้องกัน สวมหน้ากากกันหวัดนั่นล่ะ ถุงมือพลาสติกที่มีขายตามสรรพสินค้าทั่วไปหรือเป็นถุงมือแพทย์ก็ได้ ถ้าฉุกเฉินจริงๆหาไม่ทัน เอาของที่มีทุกบ้านมาใช้แทน คิดออกไหมเอ่ย!!! ถุงกอบแกบขนาดเล็กเอามือใส่เข้าไป แล้วเอาห่วงยางรัดก็จะได้ถุงมือแบบไม่มีนิ้ว เก๋ไปอีกแบบ เสื้อผ้าที่สวมใส่เอาที่รัดกุมหน่อย อย่ากรุยกรายมากนักเดี๋ยวยังไม่ทันทำความสะอาด แขนเสื้อ ชายเสื้อ จะไปกวาดแทนหมด
3.ดูพื้นที่ๆเราจะจัดการก่อนว่าราขึ้นที่ไหน สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเป็นอย่างไร เช่นแห้ง ชื้น เปียก
4.สำรวจบริเวณที่จะทำความสะอาด ว่ามีของเกะกะ หรือของใช้อื่นๆอยู่ใกล้หรือไม่ เช่นเฟอร์นิเจอร์ โซฟา หมอนหนุน อยู่ในบริเวณเดียวกัน หากมันขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งที่เป็นจุดร่วม ต้องค่อยๆหยิบออกมาวางทีละชิ้นแล้ว clear เพราะจะถือว่าทุกส่วนกระทบหมดคือ อาจมีรา เพราะรามีลักษณะเป็นเส้นใยมันสามารถชอนไช แผ่ขยายเหมือนตาข่าย เพราะฉะนั้นถ้าจะทำความสะอาดที่จุดใดต้องจัดการบริเวณไกล้เคียงด้วย บริเวณอื่นก็ใช้หลักการเดียวกัน ไม่งั้นมันจะเหลือพรรคพวกเตรียมซุ่มรอก่อการร้ายได้อีก เมื่อสภาพแวดล้อมรู้เห็นเป็นใจ
5.สังเกตพื้นผิวที่จะกำจัดก่อนว่าพื้นเรียบหรือขรุขระหรือมีรูพรุน (วัสดุมีรูพรุนหรือน้ำซึมได้ดี เช่น ฝ้า แผ่นฉนวน พรม เสื้อผ้า กระดาษ หนังสือ ) หรือไม่ซึมน้ำ เช่น แก้ว โลหะ พลาสติกแข็ง หรือซึมได้เล็กน้อย เช่น ไม้ คอนครีต
6.กำหนดบริเวณที่ทำความสะอาด แล้วหากระดาษหนังสือพิมพ์มาปูรอบๆ (ติด) พื้นบริเวณนั้น ๆ (กรณีในบ้าน) แล้วสเปรย์น้ำหมาดๆลงบนกระดาษ (ก่อนจัดการรา) ถ้าเป็นห้องนอนต้องหาผ้ามาคลุมเตียง
7.เอาถุงกอบแกบ ใบใหญ่หน่อยชนิดที่เอาของทุกอย่างทิ้งในถุงนั้นได้หมด โดยไม่ต้องคอยขยับถุง (กระเทือน) มาวางใกล้
8.อย่าเปิดพัดลม เพราะอาจเป็นตัวกระจายสปอร์ให้ฟุ้งไปทั่วอีก
พร้อมแล้วนะคะ ลงมือลุย
•จากข้อ3 ถ้าพื้นที่ที่ราขึ้นแห้ง ห้ามเช็ดแบบแห้งเป็นอันขาดเพราะถ้ามีสปอร์มันจะฟุ้งล่องลอย ไปเที่ยวรอบห้อง หรือไม่ก็เข้าจมูก ปาก ตาของเรา อันตรายอีก ดังนั้น ต้องทำให้มันชื้นเล็กน้อย โดยใช้กระดาษ tissue มากๆหลายๆชั้น ชุบน้ำ หมาดมากๆ (ไม่เปียกแฉะ) ปกติควรใช้ tissue ขนาดแผ่นใหญ่ที่เป็นม้วน มันจะหนาดีมาก
•แล้วเช็ดจากล่างขึ้นบน (ซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้ายก็ไม่ ได้) นี่กรณีราฟู นะคะ ถ้าไม่ฟูก็ตามใจถนัด
•เช็ดทีเดียวทิ้งทุกครั้ง ไม่มีการซ้ำ อย่าประหยัด
•เตรียมน้ำสบู่เหลว เอาแบบที่บอกว่าฆ่าเชื้อหรือธรรมดาก็ได้ (ไม่ได้ค่าโฆษณาเลยไม่บอกชื่อ).. (ยิ้ม) ผสมน้ำเล็กน้อย เช็ดซ้ำอีก
•เสร็จก็ใช้น้ำเช็ดซ้ำ คราวนี้เช็ดยังไงก็ได้ ตามใจชอบ
ทำความสะอาดเสร็จ นั่งพักก่อนได้ ถ้าเหนื่อย เพราะขั้นตอนต่อไปจะเป็นการฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีหลายวิธีให้เลือก
1.น้ำส้มสายชู เทน้ำส้มสายชูออกจากขวดใส่กระดาษทิชชู หมาดๆ (ไม่แนะนำให้ใช้ผ้าเพราะใช้แล้วต้องซัก ไม่ดีแน่ เอาแบบใช้แล้วทิ้งปลอดภัยกว่า) หรือใส่ขวดสเปรย์ก็ได้ สเปรย์ตั้งทิ้งไว้สัก 5-10 นาทีแล้วก็เช็ดเลย กำจัดได้ในระดับน่าพอใจ (80%) แต่ไม่ฆ่าสปอร์
2.Tea tree oil ใช้ 2 ช้อนชาในน้ำ 2 ถ้วย ใส่ขวดสเปรย์เบาๆ บนบริเวณที่ต้องการแล้วเช็ด เหลือเก็บใส่ขวดเก็บไว้ใช้ได้นาน
3.Grapefruit seed extract ใช้ 20 หยด ใส่ในน้ำ 2 ถ้วย ใส่ขวดสเปรย์เบาๆ บนบริเวณที่ต้องการแล้วเช็ด
ส่วนสารฆ่าเชื้อราที่เข้มข้นกว่า ประกอบด้วย...
1. แอลกอฮอล์ (ethanol, isopropanol)ใช้ที่ความเข้มข้น 60 - 90%. ควรให้ระยะสัมผัส อย่างน้อย 5-10 นาที
2. Chlorox bleach หรือ sodium hypochlorites สารนี้ส่วนใหญ่จะรู้จักกัน เป็นสารประกอบคลอรีน มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวาง มีราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว สารละลาย hypochlorite เสื่อมสภาพได้เร็ว ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสอินทรียสาร จึงควรเตรียมใหม่เมื่อใช้และเก็บในภาชนะที่ป้องกันแสง ใช้อัตราส่วน 1:10
3.ไฮโดรเจนเพอรอกไซด์ (hydrogen peroxide)ใช้ที่ความเข้มข้น 3-6 % แต่ตัวนี้ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานหน่อย (แช่ไว้)
4. ไอโอโดฟอร์ (Iodophore)ใช้ฆ่าสปอร์ได้ที่ความเข้มข้น 75 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานเช่นกัน
@@@
ทราบวิธีกำจัดเชื้อรากันแล้ว ต้องลองนำคำแนะนำที่ได้ไปทดลองทำดู เพื่อบ้านที่น่าอยู่ และผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพดี.
takecareDD@gmail.com
ที่มา เดลินิวส์
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...