“โยคะ” ฉบับง่ายๆ รักษา “ออฟฟิศ ซินโดรม”

รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช (ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู) :บทความ
นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง

รักษา “ออฟฟิศ ซินโดรม” ให้โยคะช่วยดีไหมครับ

โยคะที่เรานำมารักษาโรคของมนุษย์เงินเดือนที่รู้จักกันดีในชื่อ “ออฟฟิศ ซินโดรม” นี้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่แก้อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ฝืดขัดร่างกาย และเครียดของโรคนี้ เพราะโยคะเป็นศาสตร์ของการบริหารร่างกายและฝึกจิตใจให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ออฟฟิศโยคะ”
ไม่ต้องกังวลว่ายากและยาวครับ เพราะได้ดัดแปลงให้ออฟฟิศ โยคะนั้นง่าย เข้ากับหลัก 5 ส.ได้แก่ สะดวก สบาย สงบ สง่า และ สนุก และยังสอดคล้องกับเงื่อนไขของเวลา โดยเน้นยืดสายคลายเส้นในท่ายืน ซึ่งสามารถทำได้ในออฟฟิศแม้พื้นที่มีจำกัด โดยเริ่มฝึกตามสภาพพื้นฐานของร่างกาย แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับตามความสามารถที่ดีขึ้น ซึ่งวันนี้เรานำ 3 ท่าโยคะมาให้ลองฝึกกัน
เริ่มด้วยฝึกการหายใจเข้า-ออกที่ถูกต้อง โดยยืนตรง หายใจอย่างช้า ๆ และลึก เพื่อเสริมสร้างสมาธิ หายใจเข้า-ท้องพอง เพื่อให้ได้ออกซิเจนมากๆ หายใจออก-ท้องแฟบ เพื่อขับอากาศเสียออกจากร่างกาย ทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายและจิตใจ

ท่าที่ 1 ท่านักรบ ยืนตรง พนมมือเหยียดแขนตรงเหนือศีรษะ ฝ่ามือประกบกัน ก้าวขาหนึ่งไปข้างหน้า ค่อยๆ ย่อเข่าลง ค้างไว้สามลมหายใจ (หนึ่งลมหายใจ เท่ากับ หายใจเข้า 1 ครั้ง หายใจออก 1 ครั้ง) แล้วทำใหม่โดยสลับขา เป็นการยืดด้านหน้าของร่างกายทั้งหมด รวมถึงกล้ามเนื้อหน้าอกและหน้าท้อง นอกจากเป็นการคลายกล้ามเนื้อด้านหน้า ยังทำให้หายใจสะดวก ลดอาการท้องอืด แล้วยัง
ท่าที่ 2 ท่านกกระเรี ยน ยืนตรง กางขาเล็กน้อย ประกบมือสองข้างไว้ด้านหลัง ค่อยๆ โน้มก้มตัวและศีรษะช้าๆ พร้อมกับเหยียดแขนสองข้างขึ้นบน ค้างไว้สามลมหายใจ เป็นการยืดคลายกล้ามเนื้อด้านหลังทั้งหมด กระตุ้นการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้อง แก้อาการท้องผูก ช่วยแก้ไขโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและช่วยลดอาการปวดหลัง

ท่าที่ 3 ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ยืนตรงพนมมือเหนือศีรษะ ค่อยๆ เอียงตัวไปด้านข้างช้าๆ ค้างไว้สามลมหายใจ แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำโดยเอียงตัวไปด้านตรงข้าม เป็นการยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว กล้ามเนื้อชายโครง และยืดกระดูกกดสันหลัง

และจะถือว่าสมบูรณ์แบบต้องจบด้วยการฝึกหายใจเช่นเดียวกับตอนเริ่มต้น เพื่อย้ำเตือนว่าไม่ได้ลืมถือปฏิบัติในทุกท่วงท่าระหว่างฝึก

ออฟฟิศโยคะนี้ มีความปลอดภัยสูง ทำง่าย และสนุก ใช้เวลาเล็กน้อยประมาณ 10 นาที โดยทำท่าละ3-5 ครั้ง ทำทุกวัน แล้วจะรู้ว่าสุขภาพดีไม่มีขาย แต่ถ้าใครมีปัญหาสุขภาพ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนนะครับ
ที่มาโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์