ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ลูกอ้วน" เป้าเสี่ยงโครงสร้างผิดรูป![ดร. มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ] "การกิน" เป็นเรื่องที่คนทุกวัยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในวัยเด็กที่พ่อแม่จะใส่ใจเป็นพิเศษ ต้องให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ (หรือไม่) บางครอบครัวเน้นการกินที่ตามใจลูก โดยคิดว่าถ้าลูกกินได้จะทำให้ลูกมีความสุขและมีร่างกายที่แข็งแรง แต่หารู้ไม่ว่า การปล่อยให้ลูกกินตามใจปาก เป็นสาเหตุให้ลูกตกอยู่ในภาวะเสี่ยงของการเป็นโรคและภัยเงียบที่พ่อแม่มองข้ามอย่าง "โครงสร้างผิดปกติ" ที่ก่อตัวในเด็กอ้วน
จากข้อมูลผลสำรวจของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2552 ที่ผ่านมาคาดว่าอีก 6 ปีข้างหน้า จำนวนของเด็กอ้วน จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กในวัยเรียน หรืออาจกล่าวได้ว่า จะมีเด็กอ้วนในประเทศไทยจำนวนสูงขึ้นถึง 20%
กับภาวะเสี่ยงนี้ ดร. มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญไคโรแพรคติก ประจำไคโรเมด สหคลินิก เปิดเผยถึง ภาวะโรคโครงสร้างผิดรูปที่เกิดขึ้นในกลุ่มเด็กอ้วนว่า "ปัจจุบันสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ด้วยพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมรับประทานอาหาร ในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีน ไขมันสูง อาหารรสชาติหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด ที่ระบาดหนักในกลุ่มของเด็ก
นอกจากนั้นการทำกิจกรรม และการออกกำลังกายที่น้อยลง ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อจาก สื่อต่างๆ ปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลให้เด็กไทยมีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆหากไม่รู้จักการป้องกันอย่างถูกวิธี"
สาเหตุข้างต้นทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนในเด็กเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ ที่ลุกลามตามมา เช่น โรคเบาหวาน ภาวะการต่อต้านอินซูลินทำให้มีระดับอินซูลินสูงกว่าเด็กปกติ โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ มีโอกาส 3 - 5 เท่า ที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และหากมองในเชิงโครงสร้างร่างกาย การที่เด็กแบกรับน้ำหนักมากๆ ขณะที่กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อต่างๆ ยังพัฒนาไม่เต็มที่ เป็นภัยเงียบที่ก่อตัวขึ้นและส่งผลร้ายคุกคามกับเด็กอ้วน
อย่างไรก็ตาม ดร.มนต์ทณัฐ ยังกล่าวถึงภาวะเสี่ยงต่อการมีโครงสร้างที่ผิดปกติของเด็กอ้วนว่า เด็กที่ประสบภาวะโรคอ้วน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโครงสร้างผิดรูป เนื่องจากสุขภาวะ การรับประทานอาหาร การดำเนินชีวิต แตกต่างจากเด็กทั่วไป อีกทั้งต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่มากจึงอาจทำให้โครงสร้างร่างกายผิดรูปได้
"โครงสร้างในร่างกายมนุษย์ จะมีเส้นแบ่ง (Gravity Line) ระหว่างกลางลำตัวและด้านข้างลำตัว ไม่หลุดจากแกนการทำงานปกติ ซึ่งหากเส้นแบ่งโครงสร้างดังกล่าวบิดเบี้ยวและไม่พัฒนาตามช่วงการเจริญเติบโตของวัย ก็จะทำให้มีภาวะผิดปกติของโครงสร้างได้ อาทิ การบิดโค้งของแนวกระดูกสันหลังผิดปกติ, ฝ่าเท้าผิดรูป, เข่าไม่สมดุล ฯลฯ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้โครงสร้างร่างกายผิดรูปคือ การเคลื่อนไหวผิดท่าทางและน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน" ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
ลักษณะโครงสร้างผิดปกติ
ทั้งนี้ ดร.มนต์ทณัฐ กล่าวเตือนถึงภัยเงียบของโรคโครงสร้างผิดรูป โรคที่กำลังเป็นภัยคุกคามเด็กอ้วนว่า ปัจจุบันโรคโครงสร้างผิดรูป การบิดโค้งของแนวกระดูกสันหลังผิดปกติ มักเกิดในกลุ่มเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย ในอัตราส่วน 6 :1 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอ้วน จึงขอฝากเตือนไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครองให้ใส่ใจเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมของบุตรหลาน เนื่องจากจะส่งผลให้เป็นโรคเรื้อรังแก่เด็กในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างร่างกายที่หลายคนอาจมองข้ามและไม่เห็นความสำคัญ หากมีการสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการป้องกันที่ดีปัญหาโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติด้านโครงสร้างจะมีน้อยลง
อยากให้ลูกมีรูปร่างดูดี "ทำได้ไม่ยาก"
นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญ แนะแนวทางในการดูแลเรื่องโครงสร้างร่างกายของลูกว่า การพัฒนาด้านโครงสร้างร่างกายในเด็ก จะเจริญเติบโตเต็มรูปในช่วงอายุ 12 - 15 ปี หากพบปัญหาความผิดปกติด้านโครงสร้างร่างกายในช่วงนี้ ยังสามารถรักษาให้หายได้ โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 18 ปี หรืออาจพาบุตรหลานไปตรวจสอบความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายด้วยเครื่อง Screening และปรึกษาแพทย์เพื่อทราบถึงปัญหาและหาแนวทางฟื้นฟูแกนกระดูกสู่สภาพปกติต่อไป
"การบริโภคอาหารของเด็กเป็นอีกสิ่งที่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน เน้นครบหลักโภชนาการและออกกำลังกายในยามว่าง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนในเด็กได้ ซึ่งหากไม่เร่งแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ แต่ปล่อยให้ปัญหาบานปลายและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว จะส่งผลให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้" ดร. มนต์ทณัฐ ฝากทิ้งท้าย
ที่มา โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...