ผู้เชี่ยวชาญแนะแนวทาง 'เลี้ยงลูกให้อยู่รอด' ในยุค 2010
ท่ามกลางสังคมที่มีแต่การแข่งขัน พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงมุ่งปลูกฝังให้ลูกเป็น "คนเก่ง" เพื่อวิ่งตามเทคโนโลยีให้ทัน ด้วยความเชื่อที่ว่า ความเก่งจะทำให้ลูกมีความสุข แต่ความจริงแล้ว กลับตรงกันข้าม เพราะจะทำให้บางอย่างในตัวลูกขาดหายไป
นั่นเพราะการใช้ชีวิตให้อยู่รอดในโลกอนาคตนั้น ไม่เพียงแต่ความเก่ง หรือ IQ เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องอาศัยความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ร่วมด้วย โดยใช้ "สุนทรียศาสตร์" เป็นตัวช่วย เพื่อสร้างให้ลูกเป็น "คนดี" และ "คนเก่ง" อย่างรอบด้าน
ความสำคัญข้างต้น รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความเห็นในงาน “ Blink Brain” ทางเลือกเพื่ออยู่รอดของเด็กไทยยุค 2010 ที่จัดโดยนิตยสาร Modern Mom ว่า สุนทรียศาสตร์ คือ ธรรมชาติ ณ เวลานี้ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์ และไม่ได้สร้างความงดงามของสุนทรียศาสตร์ขึ้นมาทดแทนในสิ่งที่ขาดหายไป
เห็นได้จากพ่อแม่บางคน มองว่า สุนทรียศาสตร์เป็นวิชาที่น่ากลัว เมื่อเรียนจบจะไปทำอะไรหาเลี้ยงตัวเอง ทางเดียวคือเต้นกินรำกิน แต่หากเข้าใจให้ดีแล้ว ดนตรี และศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาที่สามารถช่วยขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ได้ ดั้งนั้นถ้าเด็กมีดนตรี และศิลปะอยู่ในหัวใจ ย่อมสื่อถึงการมีธรรมมะอยู่ในใจด้วย
แต่ถึงกระนั้น มูลค่ากับคุณค่าของศิลปะและดนตรี มีความแตกต่างกับแนวคิดที่เป็นเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เพราะดนตรี และศิลปะ ถ้าไม่เกิดการสัมผัส ก็จะไม่เกิดความรู้สึก มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ลูกจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ ต้นไม้ ลำธาร แต่หมายถึงทุกสิ่งรอบตัวของลูกด้าน "นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร" จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองเด็ก มองว่าวิทยาศาสตร์กับสุนทรียศาสตร์ เป็นคนละขั้วกัน ขั้วหนึ่งว่าด้วยเหตุผลและความจริง แต่อีกขั้วว่าด้วยเรื่องจิตใจ และความรู้สึก แต่การผสานทั้งสองขั้วนี้เข้าด้วยกัน จะทำให้ลูกมีความสุข และอยู่รอดในสังคม โดยเฉพาะสุนทรียศาสตร์ที่จะช่วยให้ลูกรู้จักที่จะอยู่กับคนอื่น มีความสมดุลในการใช้ชีวิต เพราะคุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ความเก่ง หรือฉลาดเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความเชื่อ และจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ด้วย
เพราะฉะนั้นการที่ลูกจะซาบซึ้ง หรือมองเห็นความงามของสิ่งรอบตัวได้นั้น ขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยข้อมูลทั้งหมด จะถูกส่งไปยังสมอง กลายเป็นกระแสประสาท และเป็นพลังงานไฟฟ้าเล็ก ๆ เกิดเป็นสารเคมีหลั่งออกมา จากนั้นสมองจะสร้างเส้นใยแขนงประสาท และสร้างไขมันล้อบรอบหุ้มเส้นใยประสาท ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเด็กช่วงอายุ 6 ปีแรก การที่ลูกมีสุนทรียศาสตร์ ทำให้เขารู้จักตัวเอง รู้จักพ่อแม่ รู้จักสื่อสาร เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น รู้ว่าอะไรควร หรือไม่ควร
สอดรับกับแนวทางของ Blink Brain ที่เป็นคำนิยามของกิจกรรมช่วยพัฒนาสมองให้ลูกเกิดสุนทรียศาสตร์ เช่น เข้าใจความอ่อนโยนของศิลปะ และดนตรี คือการมองเห็นความงามของสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว เมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเด็ก เด็กจะเป็นคนที่มีจิตใจดี และมีคุณธรรม
โดยเฉพาะอย่างหลังที่เป็นเรื่องของคุณธรรม คุณหมออุดม บอกว่า "ถ้าพูดถึงคำว่าคุณธรรม คนมักจะนึกถึงคนดี ที่เสียสละเพื่อคนอื่นทุกอย่าง โดยไม่คำนึงถึงความลำบากของตัวเอง หรือครอบครัว ขอเพียงแค่ได้ทำตามอุดมการณ์ของตัวเอง แบบนี้ถือว่าไม่ใช่ในทาง Blink Brain เพราะว่าคุณกำลังเบียดเบียนตัวเอง เบียดเบียนลูก หรือภรรยา แต่เอาใจใส่ เอาอกเอาใจคนอื่นที่อยู่ไกลตัว แต่คุณธรรมแบบฉบับของ Blink Brain เพียงแค่เข้าใจ เห็นใจ ไม่เบียดเบียนตัวเองและคนอื่น นี่แหละที่จะช่วยให้ลูกอยู่รอดในสังคมได้”"นคร เวชสุภาพร" คุณพ่อของ "โต๋-ศักดิ์สิทธิ์" *** ให้ลูกเข้าถึงสุนทรียศาสตร์ ทำได้ไม่ยาก
เพื่อเป็นแนวทางให้กับคุณพ่อคุณแม่ ให้ลูกได้สัมผัสกับสุนทรียศาสตร์ให้มากที่สุด จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองเด็ก แนะนำว่า พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่าง ในการที่ลูกจะเข้าถึงดนตรี และศิลปะได้นั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ลูกจะรู้จักได้เอง แต่พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูก เพื่อให้เขาซึมซับเอาสิ่งเหล่านั้นเข้าไป
นอกจากนี้ พ่อแม่อาจจะใช้ตัวช่วยจากศิลปะ นิทาน และดนตรี โดยเฉพาะการฟังเพลง เป็นวิธีที่ทำให้ลูกมีการรับรู้ที่ไวต่อความรู้สึก แต่ถึงกระนั้น ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการที่ต่อเนื่องของลูกจะได้ไม่ขาดหาย
เหมือนกัน "ครอบครัวเวชสุภาพร" ครอบครัวนักดนตรี ที่ "นคร เวชสุภาพร" คุณพ่อของ "โต๋-ศักดิ์สิทธิ์" นักร้องหนุ่มเสี่ยงนุ่ม เผยประสบการณ์ตรงโดยในการใช้สุนทรียศาสตร์ในการเลี้ยงลูกว่า ตัวเขาใช้ดนตรีเลี้ยงลูกมาตั้งแต่ที่ลูกอยู่ในท้อง ไม่ว่าจะพูดคุยกับลูก ร้องเพลงให้ลูกฟัง กล่อมให้ลูกนอน ซึ่งเป็นเหมือนการสื่อจิตวิญญาณของความรักให้กับลูก
"ลูกชายทั้ง 2 คนนำประโยชน์จากดนตรีไปใช้ในทุกช่วงของชีวิต โดยเฉพาะ โต๋ ที่ดนตรีทำให้เขามีสมาธิ และจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง สามารถสัมผัสรับรู้ความรู้สึกของตัวเอง และผู้อื่นได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตที่ลูกรู้ว่าสิ่งที่พูดออกไป จะทำให้คนฟังรู้สึกอย่างไร อีกอย่างที่พ่อภูมิใจมากที่โต๋มีความอ่อนโยน มองโลกในแง่ดี มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ดี" คุณพ่อของนักร้องหนุ่มเล่า
อย่างไรก็ดีคุณพ่อนักร้องหนุ่ม ฝากทิ้งท้ายเป็นแง่คิดถึงพ่อแม่ยุคใหม่ทุกคนว่า "การเลี้ยงลูกให้เก่งอย่างเดียว ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเป็นคนดีโดยสัญชาตญาณได้ แต่การใช้ความงามของสุนทรียศาสตร์ต่างหาก สามารถบ่มเพาะให้เกิดความงามในจิตใจของลูกได้ อย่าเลี้ยงลูกแค่ร่างกาย ขอให้เลี้ยงลูกที่จิตใจ"
ที่มา http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000044301
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...