ลูกโตสมวัยหรือไม่ พ่อแม่ประเมินได้
ขึ้นชื่อว่าเป็นคุณแม่มือใหม่ แน่นอนว่า ความหวังของแม่ทุกคน คือ การที่ลูกรักมีพัฒนาการสมวัย เนื่องจากพัฒนาการเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการทำงาน หรือการทำหน้าที่ต่างๆ ในแต่ละช่วงอายุของเด็ก
ไม่ว่าจะเรื่องกล้ามเนื้อ อารมณ์ และการเข้าสังคม เพื่อให้การเติบโตมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพิ่มขึ้น จากง่ายเป็นยาก จากหยาบเป็นละเอียด ซับซ้อน แม่นยำ และคล่องแคล่วขึ้น ถ้าพัฒนาการลูกมีปัญหา อาจทำให้ทักษะบางอย่างในตัวลูกไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้
คำถามมีอยู่ว่า "แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกโตสมวัยหรือไม่" เพื่อตอบโจทย์ความกังวลของพ่อแม่ดังกล่าว ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำจาก "พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่จะมาแนะนำพ่อแม่ถึงการประเมิน และคัดกรองพัฒนาการของลูกเบื้องต้นได้เองที่บ้าน เพื่อที่จะได้สังเกต และเมื่อพบความผิดปกติ หรือสงสัยว่าผิดปกติ จะได้ไม่สายจนเกินแก้
กับเรื่องนี้ คุณหมอ อธิบายให้ฟังว่า การประเมินประเมินพัฒนาการของลูกเป็นระยะ ถือเป็นการประเมินเชิงคุณภาพที่พ่อแม่สามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเอง โดยสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เด็กทุกคนควรได้รับการประเมินพัฒนาการ เมื่ออายุครบ 9, 18, และ 24 หรือ 30 เดือน ทั้งนี้เพื่อพ่อแม่จะได้ทราบระดับความสามารถด้านต่างๆ ของลูกว่าเป็นอย่างไร มีพัฒนาการสมวัยหรือไม่ ซึ่งจะรอดูตอนลูกเข้าโรงเรียนเพียงอย่างเดียวคงช้าเกินไป
"หลักเบื้องต้นที่พ่อแม่สามารถประเมินลูกได้ คือ 3 ปีแรก อย่างน้อยสุดประเมินพัฒนาการตอนลูกอายุ 9 เดือน แต่ถ้าสังเกตตั้งแต่แรกเกิดจะดีที่สุด ซึ่งจะเริ่มดูตั้งแต่ เป็นเด็กเลี้ยงง่าย หรือเลี้ยงยาก มีการรับ หรือปรับตัวกับสถาพแวดล้อมได้ดีหรือไม่ จากนั้นให้สังเกตุพัฒนาการอีกที ตอน 18 เดือน 24 เดือน หรือ 30 เดือนอีกสักครั้ง จากนั้น จะถัดออกไปปีละครั้ง" คุณหมอเด็กกล่าว
อย่างไรก็ดี ในแต่ละเดือนที่กล่าวไปนั้น ให้พ่อแม่ดูอะไรบ้าง คุณหมอแนะนำว่า ให้พ่อแม่สังเกตลูกขณะเล่นตามลำพัง เล่นกับผู้อื่น หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู โดยการคัดกรองแม่สามารถสังเกตได้ โดยแต่ละช่วงวัย เริ่มตั้งแต่ 9 เดือน พ่อแม่ควรสังเกตในเรื่องของกล้ามเนื้อ ความผูกพันรักใคร่กับพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู 18 เดือน เน้นการพูด การเข้าใจทางด้านภาษา และการสื่อสาร ในขณะที่ 3 ขวบ ลูกควรจะพูด และสื่อสาร และเข้าสังคมการเล่นกับเพื่อนได้ ทั้งนี้ ในแต่ละช่วงวัย อธิบายรายละเอียดเพื่อการประเมิน และคัดกรองได้ง่ายๆ ดังนี้ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 9 เดือน
- ขณะที่ลูกกำลังเล่น และคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเดินไปด้านหลังของลูก เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณ เขาจะหันหาเสียงกระซิบ หรือเสียงเบาๆ
- ลูกนั่งได้เอง โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องช่วย ซึ่งลูกไม่ต้องใช้มือของเขาช่วยพยุง
- ลูกคลานโดยใช้มือ และเข่าได้หรือไม่
- ลูกสามารถถือขวดนมด้วยตัวเองได้
- ลูกจงใจปล่อย หรือขว้างของเล่น
- ลูกสามารถเคาะ หรือเขย่าของเล่นได้หรือไม่
- เวลานำหนังสือให้ลูก เข้าทำท่าตื่นเต้น และพยายามเอาเข้าปาก
- ลูกระแวดระวังคนแปลกหน้า
- ลูกส่งเสียงคล้ายเสียงสระ หรือพยัญชนะ
ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 18 เดือน
- ลูกสามารถถือถ้วยน้ำที่มีหู โดยพ่อแม่ไม่ต้องเข้าไปช่วย หรือดื่มน้ำจากแก้วโดยไม่ทำหก
- ลูกเดินผ่านห้องกว้างโดยไม่เซ หรือหกล้ม
- ลูกถอดรองเท้า และกินอาหารด้วยตัวเอง
- ลูกมองพ่อแม่เมื่อรู้สึกเครียด เช่น พบคนแปลกหน้า
- ลูกลงไปนอนดิ้นกับพื้น
- ลูกพูดได้อย่างน้อย 4-10 คำ
- ลูกสามารถชี้ภาพ ตรงตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกได้
- ลูกทำท่าทางเหมือนกำลังพูดคุย
ประเมิน และคัดกรองพัฒนาการลูกตอนเข้าสู่อายุ 3 ขวบ
- ให้คุณพ่อคุณแม่ชี้ภาพสัตว์แล้วถามลูกว่า ลูกตอบได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไรก็ได้ ควรตอบได้อย่างน้อย 1 ชื่อ
- ลูกสนุกกับการนั่งฟังนิทานที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟังได้อย่างน้อย 5 นาที
- ลูกตอบคำถามอะไรก็ได้เกี่ยวกับนิทานที่เพิ่งได้ฟังได้
- ลูกขว้างบอลเหนือหัว (ไม่ใช่โยนขึ้น) ไปบริเวณท้อง หรือหน้าอกของคุณพ่อคุณแม่ที่ยืนห่างไปประมาณ 2 เมตรได้
- ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจสิ่งที่ลูกพูด (ยกเว้นตัวคุณพ่อคุณแม่)
- ลูกช่วยเก็บของเข้าที่
- ลูกตอบได้ว่า "เป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย"
- ลูกบอกสีได้อย่างน้อย 1 สี
- ลูกพูดเป็นประโยคมี 3 คำขึ้นไป
ดังนั้น การประเมิน และคัดกรองพัฒนาการ บุคลากรสาธารณสุขเชื่อว่า "ความกังวลของพ่อแม่ ต้องถือเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่มากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด" ซึ่งควรหาให้เจอว่าสิ่งที่กังวลคืออะไร และเมื่อพบปัญหาจนผิดปกติ เช่น ลูกทำได้ดีเกินไป หรือด้อยเกินไป อาจมีแนวโน้มต่อเด็กได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี ไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยไป แต่ขอให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ หรือพฤติกรรมด้านเด็ก เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อปัญหา และหาแนวทางแก้ได้อย่างทันท่วงที และถูกต้อง ก่อนที่จะสายเกินแก้
ที่มาโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์,http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000029371
อ่านละครเรื่อง นาคี
-
อ่านละครเรื่อง นาคี (ตอนล่าสุดคลิก) อ่านละครเรื่อง นาคี ละครเรื่อง นาคี
บทประพันธ์โดย ตรี อภิรุม ละครเรื่อง นาคี บทโทรทัศน์โดย สรรัตน์
จิรบวรวิสุทธิ์ ละครเ...